ThaiEMB.com สังคมแห่งมิตรภาพ และการแบ่งปัน
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2567, 23:14:26 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เว็บบอร์ด   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
collapse
กฏ-กติกา : ห้ามจำหน่าย, จ่ายแจก ซอฟแวร์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ในเว็บบอร์ด Thaiemb แห่งนี้โดยเด็ดขาด
ไม่ว่าจะเป็นทางหน้าบอร์ด หรือหลังไมค์(PM) หากพบเห็นท่านจะถูกแบน User ถาวร.!!!
หากท่านถูกในในผลงาน หรืออยากสนับสนุนให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานมีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
โปรดช่วยบริจาคให้ผู้จัดทำบ้างตามกำลังนะครับ.!!!  062

หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เทคนิคการปรับจักรในการปักงาน  (อ่าน 65461 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
pong
Extras Member
*****

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 817
สมาชิก Nº: 1909

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 1503
-ได้รับ: 3950


โปรแกรม: wilcom e1.8
จักรปัก: จักรจีน
« เมื่อ: วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558, 22:46:32 »

 Wink Wink ;)เทคนิคการปรับเครื่องแบบผม

1.ปรับความตึงของด้ายที่จุดที่ 1. เป็นจุดหลักที่มีแรงบีบให้มีความฝืดตึงเป็นอันดับแรก(ถ้าเป็นจักรแบบไม่มีสายท่อยาง  เวลาปักงานจะมองเห็นความชัดเจนความตึงของด้ายชัดเจนมาก ถ้าเส้นด้ายสะบัดตอนปักงานก็ปรับเพิ่มแรงบีบของจุดบนให้บีบแน่นขึ้นนั่นเอง)

2. ปรับความตึงในจุดที่ 2. เป็นจุดตาม (เน้นปรับความตึงหย่อนของด้ายที่จุดที่ 1 เป็นหลัก)

3.ในจุดที่ 3 หนวดกุ้งของจักรรุ่นนี้ทำจุดปรับหนวดกุ้งไว้ที่จุดเดียวกันทั้งหมด(ถือเป็นหลักเทคนิคที่ไม่ดีในการออกแบบเครื่อง เพราะเราไม่สามารถปรับความแข็งแบบอิสระให้หนวดกุ้งเฉพาะสีเข็มได้ แต่จักรรุ่นใหม่ๆเขาพยายามทำกันแบบนี้เพื่อลด Cost ต้นทุนการผลิตเครื่องจักร)
   ในจุดนี้เจ้าของเครื่องต้องรู้จักปรับระดับความแข็งของหนวดกุ้งให้เข้ากับด้ายของตัวเองที่ใช้ เพราะคุณสมบัติของโลหะ เมื่อสัมผัสดับด้ายที่ผลิตจากวัสดุชนิดต่างกันย่อมให้ผมการไหลลื่นของด้ายที่ต่างกัน

หลักการตรวจเช็คแรงดึงฝืดตึงของด้ายในแต่ละสี

1.ให้ดึงด้ายในจุดล่างของเครื่องที่ร้อยด้ายผ่านหนวดกุ้งแล้ว ดึงทดสอบด้วยแรงการไหลลากธรรมะดา(ไม่ใช่การดึงแบบกระชาก)ดึงให้เหมือนธรรมะชาติของการปักงานที่ด้ายมีการวิ่งที่พอดี ถ้าอยากรู้ว่าแรงบีบที่มีเกิดจากจุดไหนมากที่สุด ท่านก็ลองเอามือไปยกไม่ให้เกิดแรกบีบที่จุด 1 หรือ 2 ดู (ยกที่ละจุด) ท่านก็จะรู้เองว่าจุดไหนมีแรงบีบน้อย แรงแบีบมาก และท่านสมควรลด หรือ เพิ่มแรงบีบที่จุดไหน (เน้นปรับที่จุด 1 เป็นหลักก่อนนะครับ ถ้าบีบจุดหนึ่งแล้วมันยังฝืดไม่พค่อยมาบีบจุด 2 )
เทคนิคการปรับงานทุกอย่างที่ถูกต้องคือ การปรับให้ค่าแรงดึงต่างๆใกล้เคียง 0 (ศูนย์) คือการไม่ให้มีแรงดึงก่อนแล้วปักงานดู แล้วจึงค่อยๆปรับเพิ่มแรงดึงให้กับมันครับ ไม่ใช่เริ่มปักงานก็ตะบี้ตะบันหลับหูหลับตาปรับให้ดึงให้ฝืดให้แน่นสถานเดียว เทคนิคนี้ใช้กับทั้งการปรับด้ายบนและด้ายล่างครับ


2. ลองกดหนวดกุ้งลงแต่ละระดับ แล้วลองดึงด้ายดูไปด้วย จะเห็นความดระด้างของด้ายที่ฝืดเพิ่มขึ้น เมื่อสปริงมีความแข็งที่ต่างกัน ข้อเสียของการออกแบบปรับสริงที่จุดเดียวแล้วคุมได้ทุกเข็มคือ ถ้าเราใช้ด้ายหลายยี่ห้อหลายชนิด ซึ่งด้ายแต่ละชนิดความหนึดของด้ายไม่เท่ากันอยู่แล้ว ดังนั้นเพื่อลดปัญหาในการปรับเครื่องให้เจ้าของเครื่องเลือกใช้ด้ายยี่ห้อเดียวที่ท่านคิดว่าเครื่องท่านปักได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นแบบโพลี หรือ เรยอน ครับ เพราะถ้าท่านปรับไม่เก่งปัญหามันเกิด แต่ถ้าท่านปรับเก่งเข้าใจหลักการท่านเลือกใช้แบบไหนหรือหลายแบบก็ได้


คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ

การปรับความตึงของด้ายล่าง

ดูในครับที่สมาชิกรุ่นเก่าๆเคยทำไว้ที่บ้าน thai.sewsense.com ครับ
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ

ส่วนวิธีการอเากระสวยใส่เข้าไปในกระโหลก ตามรูปนี้คือวิธีที่ถูกต้องและดีที่สุด ครับ
โดย 1. จับกระโหลกด้วยมือซ้าย หันด้านใส่ด้ายเข้าหาตัวเรา
     2. จับกระสวยด้วยมือขวา โดยให้อยู่ในลักษณะดังรูป ใส่เข้าไปในกระโหลกแล้วดึงตรวจสอบความตึงของด้ายทุกครั้งที่มีการเปลี่ยด้ายล่าง เพื่อเราจะได้รู้ว่าด้ายล่างฝืดึง หรือหย่อนไปหรือไม่ ครับ
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ

เทคนิคการเปลี่ยนกระสวยด้ายล่าง คิดแบบการทำงานอุตสาหกรรม สำหรับจักรปักหายหัว

วิธีที่ 1 เปลี่ยนด้ายล่างใหม่ทั้งหมด
ข้อดี เครื่องจะมีปัญหาการหยุดเพราะด้ายล่างหมดเพียง 1 ครั้ง กระสวยปันทั่วไปถ้าด้ายล่างเบอร์เล็กจะสามารถปักงานได้เกิน 1 หมื่นฝีเข็มอยู่แล้ว เครื่องจักรเดินเรียบไม่หยุดบ่อยปัญหางานปักเสียปักไม่เต็มเพราะด้ายล่างหมด ไม่มี

ข้อเสีย ด้ายหมดไม่เท่ากันจำเป็นต้องดึงด้ายในส่วนที่เหลือทิ้ง

วิธีที่ 2 เปลี่ยด้ายล่างแบบแยกกลุ่มหัว เช่น หัว 1-5  6-10  11-15  16-20  ให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เมื่อด้ายล่างในกลุ่มนั้นหมดก็ทำการเปลี่ยนด้ายล่างแบบยกชุดในกลุ่มนั้นเลย วีธีนี้จะทำให้เราเห็นว่าหัวไหนด้ายมักหมดก่อน หมดเพราะด้ายล่างดึงหน้อยกว่าหัวอื่นก็ปรับความดึงเพิ่มขึ้นเพื่อให้ด้ายหมดใกล้เคียงกัน และด้ายหัวไหนที่เหลือเยอะเราก็เก็บไว้เปลี่ยนในกลุ่มอื่นที่ด้ายหมดก่อนได้เพื่อลดภาระการดึงด้ายทิ้งเยอะ

ข้อดี อาจเสียเวลาเปลี่ยนด้ายล่างน้อยลง

ข้อเสีย เกิดปัญหาเครื่องหยุดเพราะด้ายล่าง 5 ครั้งขึ้นไป


วิธีที่ 3 เปลี่ยนด้ายล่างทีละหัวเมื่อด้ายล่างหมด อันนี้เป็นวิธีแบบชาวบ้านๆทั่วไปใช้กันอยู่

ข้อดี ไม่ต้องคิดมากด้ายหมดก็เปลี่ยน

ข้อเสีย ถ้าปักงานฝีเข็มเยอะๆระดับ 7 พันเข็มหรือ หมื่นเข็มขึ้นไป หรือ 2 3 4 หมื่นฝีเข็ม กว่าจะจบงานปัก 1 ชุด จะเกิดปัญหาเครื่องหยุดเพราะด้ายล่างหมดถึง 20 ครั้ง  เสียเวลาย้อนปักงานซ่อม ประเดินปักหลายสี อาจมีบางงาน บางสีงานปักไม่จบแล้วเครื่องเปลี่ยนไปปักสีอื่นจึงโชว์ด้ายหมด ทำให้งานชิ้นนั้นเป็นงานเสียได้ เป็นต้น ถ้าใครใช้จักปักหลายหัวแล้วมาเลือกเปลี่ยด้ายล่างทีละอันเมื่อด้ายหมด สำหรับผมถือว่าวิธีการคุมเครื่องไม่เข้าใจระบบการทำงานแบบอุตสาหกรรม ทำให้เครื่องหยุดบ่อย เครื่องมีโอกาศเสียบ่อย การทำงานเกิดความล่าช้าเป็นต้น

ประเด็นงานฝีเข็มทั่วไปผมจะใช้วิธีที่ 2

ประเด็นปักงานด้ายสีขาวก็ใช้วิธีที่ 3 เพราะไม่ซีเรียสเรื่องย้อนซ่อมงานแล้วด้ายล่างสีขาวโผล่ขึ้นมา เป็นต้น

ประเด็นงานฝีเข็มหลายหมื่นฝีเข็มจะใช้วิธีที่1   หรือประเด็นที่ต้องปักงานฝีเข็มเยอะๆ ผมจะเลือกดึงด้ายล่างออกมาเช็คทุกหัวก่อน หัวไหนเหลือน้อยกว่า 80 เปอร์เเซนต์ก็จะเอาออก เอาด้ายเต็มใส่เข้าไปแทน แล้วเก็บด้ายล่างนั้นไว้เปลี่ยนหัวที่หมดก่อน หรือเอาไว้ใช้กับงานฝีเข็มน้อย เป็นต้น

***ด้ายล่างจัดเป็นด้ายราคาถูก ถ้าคิดแบบอุตสาหกรรมเขาไม่มานั่งเสียดายด้ายล่างหรอก เพราะถ้าจักดี คุมด้ายล่างเป็นปัญหาจักรจะมีน้อยลงครับ


*****วันนี้ขอเขียนแค่นี้ก่อนวันหน้าจะเขียนต่อใหม่ครับ ค่อยอ่านไปเรื่อยๆจนกว่าจะเขียนจบแล้วกันครับ หลักมันเยอะอยู่***

อากาศร้อนๆเขียนไม่ค่อยออก Azn Azn
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558, 09:44:09 โดย pong » บันทึกการเข้า
 
Sponsored Links.
เสรี
Full Member
***


"พ่อคือฮีโร่"
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 166
สมาชิก Nº: 247

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 424
-ได้รับ: 524


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558, 20:47:41 »

ขอความรู้ต่ออีกครับ..อาจารย์พงษ์
บันทึกการเข้า

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
pong
Extras Member
*****

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 817
สมาชิก Nº: 1909

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 1503
-ได้รับ: 3950


โปรแกรม: wilcom e1.8
จักรปัก: จักรจีน
« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558, 01:09:15 »

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
ขอความรู้ต่ออีกครับ..อาจารย์พงษ์
  รอจังหวะอีกนิดครับจะได้ทำเพิ่มเติมให้ครับ
บันทึกการเข้า
kochai
Hero Member
*****


อยากเก่งอะไร อยากรู้อะไร ต้องอยู่กับมันเยอะๆ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6199
สมาชิก Nº: 10

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 20675
-ได้รับ: 24085


โปรแกรม: wilcom e1.8
จักรปัก: deco 340
« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559, 18:30:53 »

กระทู้น่าสนใจ สำหรับมือใหม่ ขอดันกระทู้หน่อยครับ
บันทึกการเข้า
kochai
Hero Member
*****


อยากเก่งอะไร อยากรู้อะไร ต้องอยู่กับมันเยอะๆ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6199
สมาชิก Nº: 10

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 20675
-ได้รับ: 24085


โปรแกรม: wilcom e1.8
จักรปัก: deco 340
« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559, 18:12:33 »

...
บันทึกการเข้า
sunthila
Newbie
*

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7
สมาชิก Nº: 4478

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 13
-ได้รับ: 12


โปรแกรม: wilcom es 2006
จักรปัก: barudan
« ตอบ #20 เมื่อ: วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559, 11:38:00 »

ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
bellza
Jr. Member
**

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61
สมาชิก Nº: 11396

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 13
-ได้รับ: 36


เว็บไซต์ โปรแกรม: wilcom
จักรปัก: tajima
« ตอบ #21 เมื่อ: วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562, 10:29:05 »

ขอบคุณมากๆเลยครับสำหรับเทคนิคดีๆ
บันทึกการเข้า

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.16 | SMF © 2011, Simple Machines
SimplePortal 2.3.7 © 2008-2024, SimplePortal

SMFAds for Free Forums

Clear Mind Theme, by StathisG
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 32 คำสั่ง