ThaiEMB.com สังคมแห่งมิตรภาพ และการแบ่งปัน
วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2567, 08:59:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เว็บบอร์ด   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
collapse
กฏ-กติกา : ห้ามจำหน่าย, จ่ายแจก ซอฟแวร์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ในเว็บบอร์ด Thaiemb แห่งนี้โดยเด็ดขาด
ไม่ว่าจะเป็นทางหน้าบอร์ด หรือหลังไมค์(PM) หากพบเห็นท่านจะถูกแบน User ถาวร.!!!
หากท่านถูกในในผลงาน หรืออยากสนับสนุนให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานมีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
โปรดช่วยบริจาคให้ผู้จัดทำบ้างตามกำลังนะครับ.!!!  062

หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มือใหม่ ปักเสื้อนักเรียน  (อ่าน 61913 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
kochai
Hero Member
*****


อยากเก่งอะไร อยากรู้อะไร ต้องอยู่กับมันเยอะๆ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6199
สมาชิก Nº: 10

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 20675
-ได้รับ: 24085


โปรแกรม: wilcom e1.8
จักรปัก: deco 340
« เมื่อ: วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556, 13:23:39 »

สำหรับ รูปภาพประกอบ หรือวีดีโอ จะค่อยนำใส่ประกอบในการศึกษา นะครับ
เพื่อนๆสมาชิก มีประสบการณ์อะไร ก็ช่วยกัน แนะนำ ได้เลยนะครับ


1.การขึงสะดึง  เวลาขันสกรูน็อต  ไม่ต้องขันจนแน่นเกินครับ ไม่ต้องใช้ไขควงช่วยนะครับ ใช้มือบิด เท่าทีใช้มือบิดได้เท่านั้น ผมมีประสบการณ์แล้ว สมัยแรก ผมใช้ไขควงช่วยบิด เพราะกลัวขึงผ้าไม่ตึง
  ผลออกมา น๊อตเกลียวขาด  เกือบจะทุกสะดึงเลย  แล้วน๊อต ชุดละ 200 บาท(1อัน)

2.การร้อยไหม ประสบการณ์ตัวเอง และเพื่อนสมาชิกมือใหม่ ครับ  ร้อยไหม ไม่เกี่ยวกับ ตัวดึงไหม  ทำให้ปักไม่ได้ ปักไหม ไม่ติดครับ โดยเฉพาะมือใหม่ เห็นว่า การร้อยไหม ง่าย คนที่แนะนำ ก็ไม่ได้เน้นว่าสำคัญด้วยเห็นแต่เพียง จับไหมวนไปวนมา
  ไม่ได้สังเกตุว่า ระหว่างที่วนไหม ต้องมีช่วงที่ต้องเกี่ยวไหมกับตัวดึงไหมด้วย ต้องระวังจุดนี้ด้วยครับ

3.การกรอกระสวย (ด้ายล่าง)  เวลาเราทำการกรอกระสวย ต้องให้ความปราณีตด้วยนะครับ พยายามกรอกระสวยด้ายล่าง  ให้ได้รูปทรง ทรงกระบอก  มากที่สุด หากเป็นรูปทรงกรวย จะทำให้มีผลกับความตึงของด้ายล่างไม่สม่ำเสมอครับ มีผลกับงานที่ปักออกมาไม่สวยครับ
ด้ายล่าง เราจะใช้ด้ายสีขาวนะครับ ไม่ต้องใช้สีตรงกับไหมครับ เราไม่ใช่ปักงานแบบมาตรฐาน หรือปักงานมีแบรนด์

4.การปรับความตึงของไหมบนและด้ายล่าง มีความสำคัญมากเลยครับ เราต้องรู้จักปรับความตึงของไหมบน กับด้ายล่าง ให้เหมาะสมที่สุด
  โดยเฉพาะ ด้ายล่าง ต้องปรับให้มีความตึง ให้น้อยที่สุด คือมีความหนืด ด้วยนะครับ แล้วลองปักดูครับ สังเกต ด้านหลังของลายที่ปัก หากด้ายล่างสีขาว มาก แสดงว่า ความตึงของไหมบน ตึงมาก เรา ก็ทำการปรับความตึงของไหมบน ไปหาตัวเลขน้อยครับ เพื่อลดความตึงของไหมบนลงครับ ค่อยๆปรับนะครับ ด้ายล่างสีขาว ที่คิดว่าพอดี ก็ประมาณ 1/3 ของไหมบนครับ ใช้ความรู้สึกนิดหน่อย

5.การใช้ผ้าวีราเน่ รองก่อนปัก
  จะต้องใช้วีราเน่ ที่มีความหนาหน่อย หากซื้อแบบบางมาใช้ ก็ต้องรอง 2 ชั้นอีก  และการรองผ้าวีราเน่  เราก็ต้อง ดูผ้าที่เราจะปักด้วยนะครับ
 ยิ่งผ้ายืด ต้องระวังหน่อยครับ มือใหม่ไม่มีประสบการณ์ในการปัก  เจอปัญหาปักผ้ายืด จะท้อใจ เหนื่อยใจ ไม่กล้าปัก
การปักเสื้อยืด เป็นเนื้อผ้า จุติ(ผ้าเสื้อยี่ห้อลาครอส )เสื้อพละของนักเรียน ให้รองผ้าขาวบางๆ ที่เราซื้อมาลองปักชื่อนักเรียน ลองบนผ้าวีราเน่ก่อน มีประโยชน์คือ เวลาปักเสีย จะช่วยให้เราเลาะผ้าได้ง่ายไม่ต้องกลัวเสื้อจะเป็นรูครับ เพราะการเลาะ จะเลาะจากด้านหลังของลายปัก การเลาะ ใบมีดจะถูกวีราเน่ก่อนแล้วถูกผ้าที่เรารองเป็นชั้นที่สอง ก่อนจะถึงเนื้อผ้าของเสื้อ ไม่รู้จะเข้าใจหรือ เปล่า

6.การเลาะ  กรณ๊เราปักเสีย เราจะต้องเลาะงาน เพื่อที่จะปักใหม่ หากเราไม่รู้วิธีการเลาะ เสื้อจะเป็นรู และหมดกำลังใจ
  วิธีการเลาะ มือใหม่ จำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการเลาะ ใช้เครื่องมืออะไร เลาะ  ที่ใช้กันอยู่ก็มี ใบมีดโกนหนวด แบบ1 หรือ 2 หรือ 3 ใบมีดครับ

7.การบำรุงรักษาจักร โดยการหยอดน้ำมันจักร ตรงตำแหน่งที่มีการเคลื่อนไหว
  ผมทำหยอดน้ำมันจักร ช่วงกลางคืน เมื่อหยอดเสร็จ การจะลองปัก เพื่อให้น้ำมันได้ไปหล่อลื่นกลไกให้ทั่วครับ พอตื่นเช้า ก็ทำการเช็ดน้ำมันที่ไหลลงมาที่เสาเข็มและที่บริเวณตำแหน่งรูที่เข็มจักรปักลงมาครับ

8.การปักเครื่องหมายต่างๆตรงตำแหน่งที่ปกเสื้อ  เราจะปักเครื่องหมาย โดยใช้วิธี ปะกาว  มือใหม่ คงจะสงสัย ว่า วิธีปะกาว เป็นอย่างไร
   อุปกรณ์ที่ต้องใช้ก็มี 1.กาว 2 หน้าแบบเหนียวหน่อย   2.ผ้าวีราเน่ (มีอยู่แล้ว) 3.มีดคัทเตอร์ 4.สะดึง(มีอยู่แล้ว)
   วิธีการทำ ก็ขึงผ้าวีราเน่ กับสะดึง เหมือนกับขึงเสื้อที่ปัก   แล้วทำการเจาะรูที่ผ้าวีราเน่ เป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาด 4x4 ซม. หรือแล้วแต่ความเหมาะสมครับ แล้วก็นำกาว 2 หน้ามาติดกับผ้าวีราเน่ รอบตามรอยเจาะครับ  ถึงเวลาจะปักจุด ดาว หรือ ขีด ก็นำ ปกเสื้อมาทำการติดตรงกาว 2 หน้า ที่เราทำสะดึงปะกาวเตรียมไว้ครับ
.
9.การทำแบบ(ทำบล็อค) ปะผ้า สำหรับเสื้อของเด็กอนุบาล  บางโรงเรียนจะมีแถบเป็นผ้า หรือใช้รีบิ้น เย็บบนชื่อเด็กนักเรียน
  สมัยแรกๆ  ผมจะให้เมียเย็บให้ หากเมียไม่มีเวลา ก็ต้องเย็บเองครับ  แต่ตอนนี้ ผมใช้เทคนิกที่ได้จากการเรียนรู้จากบอร์ด คือ การตีลาย หรือทำบล็อก แบบปะผ้า ครับ งานออกมายอดเยี่ยม
 ไม่ต้องรบกวนเมียอีก

10.ตำแหน่งในการปักอักษรย่อและชื่อนักเรียน จะปักตรงไหน สังเกตุอย่างไร
   
11.การกำหนดจุดเริ่มปักและจุดจบ ของลาย ใช้ประโยชน์ตอนปักลายเพิ่มครับเช่น
   ลืมปักตัววรรณยุกต์ต่างๆ ตัวการันต์ สระ อิ อี อึ อื   หรือ การเพิ่มเครื่องหมาย ให้ห่างและตรงแนวปักของเดิมครับ

12.การปักเสื้อยืด เสื้อพละที่เป็นเสื้อยืด การขึงสะดึง  โดยเฉพาะมือใหม่ ไม่รู้อะไรเลย จะขึงสะดึงเสื้อยืด จะดึงผ้าจนตึงเกินไป เพราะกลัว จะปักไม่ได้ ไม่สวย  ผลปักออกมา ผ้าหย่อนดูไม่ได้เลย จากประสบการณ์จริงของผม อิอิ สำหรับมือใหม่ หากปักเสื้อยืด ผมว่า ใช้วิธีปะกาว จะดีกว่านะครับ เราเพียง จัดผ้าให้เรียบติดกับกาวสองหน้า(สะดึงที่เราเตรียมไว้ ทำสะดึงแบบเดียวกับปักเครื่องหมายต่างๆที่ปกเสื้อครับ) และจากการสังเกตุ  มือใหม่ จะปักเสื้อยืดไม่สวยอีกอย่าง ก็เพราะการปรับด้ายล่าง และไหมบนด้วย  ซื้อจักรมา เขาปรับมาให้อย่างไร ก็ปักอย่างเดียว ไม่มีความรู้ว่า มันมีความสำคัญด้วย

13.การตีลาย เช่น จุดวงกลม แล้วนำมาปัก  ปักแล้ว ทำไม ไม่กลม สักที ไม่เข้าใจเรื่อง แนวหด แนวดัน ของฝีเข็ม แบบต่างๆครับ เช่นตีแบบซาติน แนวหดแนวดันอยู่ตรงไหน ต้องแก้ลายอย่างไร และเรื่องการตีเผื่อ กันลายหด มือใหม่ ไม่มีความรู้เรื่องนี้ เพราะเวลาพนักงานขายมาส่งจักร  ไม่ได้สอนแนะนำเรื่อง แนวหด แนวดัน ให้ผู้ซื้อได้มีความรู้  ครับ มือใหม่ น่าสงสารจัง ผมผ่านการเป็นมือใหม่มาแล้ว เข้าใจครับ

14.การปักเครื่องหมายต่างๆเช่น จุด ดาว หรือ ขีด ที่ปกเสื้อนักเรียน ผมคิดว่า ทุกท่านเคยเจอปัญหา อย่างที่ผมเจอ คือเวลาเราปักเครื่องหมายที่กล่าวมา ตรงตำแหน่งที่ปกเสื้อๆ จะมี แผ่นพลาสติก รองอยู่ข้างในปกเสื้อ  เพื่อให้ปกเสื้อ ได้ทรงสวยงาม แต่ เป็นปัญหาสำหรับ ผม เพราะ ปักจุดปักดาว นิดเดียว แต่เสียเวลาเหมือนกัน คือ ไหมจะขาดบ่อยครับ เพราะไปสีกับแผ่นพลาสติกที่รองอยู่ครับ หากเรานำแผ่นพลาสติกออกมาเสีย  เราจะปักได้รวดเร็ว ไม่เสียอารมย์ ไม่เสียเวลาด้วย   วิธีของผม จะทำการผ่าตัด เอาแผ่นพลาสติก ออกเสียครับ โดยการเอามีดคัทเตอร์กรีดตรงตำแหน่งพลาสติก และต้องขีดให้ถูกพลาสติก นะครับ ขีดนิดเดียว พอที่เราจะดึงแผ่นพลาสติกออกมาได้ครับ  ขีดมากไป จะปักทับไม่หมด ลูกค้าจะเห็น เดี๋ยวงานเข้าอีก อิอิ
หมายเหตุ ต้องขีดด้านหลังที่เราจะปักนะครับ

15.หัดเดินเส้นรัน 2 รอบ  สำหรับตีลายเส้น  ใช้ปักเสื้อเด็กนักเรียนอนุบาล ครับ บางโรงเรียน จะให้ปักนั้นปักนี่ และบางครั้ง เราก็จะใช้ในการตีลายโลโก้โรงเรียนที่เป็นลายเส้นด้วย  สมัยก่อน ที่ผ่านมาไม่นานครับ ยังจำได้เลย ผมไม่รู้วิธีตีลายเส้น ด้วยเครื่องมือ รัน เลย ลูกค้าจะให้เรา ปัก เราจะไม่ปักเลย เพราะตีลายเส้นไม่เป็นครับ ลองตี เวลาปักจะมีเส้นโยงเยอะแยะเลย แต่ตอนนี้ รู้วิธีตีลายเส้น หรือที่เรียกว่า เดินเส้นรัน 2 รอบ  ง่ายครับ ไม่ยากอย่างที่คิด เมื่อเรารู้หลักการเดินเส้นรัน 2 รอบ

16.การปักตัวอักษรเล็กให้สวย  (ต้องให้เครดิต ท่าน phichai ครับ)

     ตัวอักษรเล็กถ้าเป็นไปได้อย่าให้ต่ำกว่า 3 มิล

ผ้าก็มีส่วนสำคัญ เนื้อแน่น ไม่เป็นรู ไม่ยืด เช่น ผ้าคอม, โซล่อน ไม่ค่อยมีปัญหา กดสะดึงให้ตึง ๆ รองวีราเน่ให้หนา
ผ้ายืด, จูติ, ลาคอส ค่อนข้างมีปัญหา พยายามกดสะดึงให้ผ้าตึง(แต่ก็อย่าตึงเกินไปเวลาเอาออกจากสะดึงจะมีปัญหา) รองวีราเน่ให้หนาถ้าเป็นไปได้ก็กดพร้อมผ้าหรือ
ใช้วีราเน่กาวรีดก่อน
กดสะดึงแล้วเอาใส่เครื่องลองเอานิ้วแตะตรงที่จะปักแลัวลองขยับดูว่าผ้าเลื่อนตามหรือเปล่า ถ้าผ้าเลื่อนตามนิ้วมากแสดงว่าหย่อนไป

เลือกฟ้อนต์ที่ปักง่าย และเสาค่อนข้างหนา เช่น ฟ้อนต์หัวตัด
อาจจะใช้วิธีตีด้วยมือแทนที่จะใช้ฟ้อนต์สำเร็จ โดยพยายามลดลายละเอียดลง
เช่น สระอิ ปกติจะเป็นสองชั้นเราก็ตัดออกชั้นหนึ่งเหลือเพียงเป็นขีดเดียว, ษ ก็อาจจะทำเป็น บ, ฎ ฏ ตรงปลายที่หยัก ๆ ก็ทำเป็นแค่งอขึ้นเล็กน้อยคล้ายหาง ง เป็นต้น

สุดท้ายที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดคือ ลองทำแล้วปักใส่เศษผ้า
ปรับเปลี่ยนความหนาแน่นไหม
ปรับเปลี่ยนค่าดึงไหม ลองดูให้เหมาะกับจักรเราที่สุด
ผมเองจักรสองเครื่องยังต้องตั้งค่าไม่เหมือนกันเลยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556, 18:08:06 โดย kochai » บันทึกการเข้า
 
Sponsored Links.
Annatyzaa
Full Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 107
สมาชิก Nº: 3033

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 383
-ได้รับ: 232


โปรแกรม: Wilcom e1.5
จักรปัก: PE770
« ตอบ #16 เมื่อ: วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557, 13:52:20 »

ขอบคุณพี่โกชัยและพี่ๆในห้องนี้มากๆค่ะ สำหรับความรู้ที่มีมาแบ่งปันเสมอๆ

ด้วยความที่เป็นมือใหม่แล้วซ่าส์ ลองปักชื่อลูกสาวบนชุดพละ
ผลที่ออกมาผิดตำแหน่ง อยุ่สูงเกินไปต้องเลยต้องเลาะใหม่
เลาะไปเลาะมาเสื้อขาด   056 เลยต้องซื้อตัวใหม่
แต่ก็ได้ประสบการณ์ว่าต้องขึงผ้ายังไง ถึงจะออกมาสวย

ค่อยเป็นค่อยไป ฮึบๆๆๆ  ไชโย 038
บันทึกการเข้า

ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
kochai
Hero Member
*****


อยากเก่งอะไร อยากรู้อะไร ต้องอยู่กับมันเยอะๆ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6199
สมาชิก Nº: 10

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 20675
-ได้รับ: 24085


โปรแกรม: wilcom e1.8
จักรปัก: deco 340
« ตอบ #17 เมื่อ: วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557, 18:01:16 »

ความรู้เบื้องต้นที่คนทำงานปักมือใหม่ควรรู้ ครับ

การดาวน์โหลด ลายที่เพื่อนสมาชิกในบอร์ดได้แบ่งปัน
ไฟล์ที่ทำการบีบอัดมา จะเป็นนามสกุล rar เมื่อดาวน์โหลดมาแล้ว เราจะต้องทำการแตกไฟล์ นั่นเสียก่อน ด้วยโปรแกรมwinrar
ทำการแตกไฟล์แล้วเราอาจจะได้เป็นแฟ้ม(floder)ในแฟ้มจะประกอบด้วยลายต่างๆอาจเป็นลายที่เป็นนามสกุลpesหรือdst
ลายปักจะแบ่งเป็น 2 อย่างคือ ไฟล์ดิบ และไฟล์ที่ถูกแปลงเป็นนามสกุลต่างๆให้เหมาะสมกับจักรแต่ละยี่ห้อ
ไฟล์ดิบหรือลายต้นฉบับเช่น...
 embเป็นลายที่สร้างจากโปรแกรมwilcom บางครั้งเราดาวน์โหลดไปแล้ว เปิดไม่ได้ อาจจะเกิดจากลายนั้นสร้างจากwilcom เวอร์ชั่นที่สูงกว่าครับ
ลายที่สร้างด้วยเวอร์ชั่นต่ำ จะเปิดด้วยเวอร์ชั่นที่สูงกว่าได้ครับ แต่ลายที่สร้างด้วยเวอร์ชั่นสูงกว่าจะเปิดด้วยเวอร์ชั่นต่ำไม่ได้ครับ
ไฟล์ดิบหรือไฟล์ต้นฉบับ เราจะเปิดลายขึ้นมาทำการแก้ไขต่างๆได้ง่ายครับ ไม่เหมือนกับไฟล์ที่ถูกแปลงเพื่อส่งเข้าจักร แล้ว จะนำมาแก้ไขได้ยากครับ
ไฟล์ดิบหรือไฟล์ต้นฉบับ ของโปรแกรมวิง จะเป็นนามสกุล mls,ngs

สำหรับไฟล์ที่ถูกทำการแปลงเป็นนามสกุลต่างๆเพื่อส่งเข้าจักร ที่เราเห็นบ่อยๆ เช่น pes,exp,dst
มือใหม่ จะไม่เข้าใจการแปลงลายเป็นไฟล์นามสกุลส่งเข้าจักรปัก ว่าทำกันอย่างไร จริงๆมันก็คือการเซฟลายเป็นนามสกุลต่างๆที่จักรแต่ละยี่ห้อมองเห็น ครับ เช่น...
จักร brother pe-150,200,770...จะเซฟเป็นนามสกุล pes
จักร deco bernina 340 จะเซฟเป็นนามสกุลexp แล้วต้องอยู่ในแฟ้ม embf5>340>จักรจึงจะมองเห็น ครับ
จักร swf และอื่นๆ เราจะเซฟเป็นนามสกุล dst
บันทึกการเข้า
nonlapan
Newbie
*

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1
สมาชิก Nº: 5920

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 0
-ได้รับ: 1


« ตอบ #18 เมื่อ: วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558, 21:20:11 »

ขอบคุณมากๆค่ะ
บันทึกการเข้า
aofpop0304
Newbie
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 38
สมาชิก Nº: 5736

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 78
-ได้รับ: 35


เว็บไซต์ โปรแกรม: wilcom e2
จักรปัก: ิdeco340
« ตอบ #19 เมื่อ: วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558, 16:07:19 »

ขอบคุณครับพี่ โกชัย ได้ความรู้มากเลยครับ
ผมปักเสื้อนักเรียนมา5ปีเพิ่งรู้วิธีปักจุดปักดาวบนคอเสื้อทำยังไง
คนที่เขามาส่งจักรเขาก็ไม่ได้สอน
ลูกค้ามาปักเสื้อนักเรียนก็ปฏิเสธลูกค้าว่าปักไม่ได้อย่างเดียว

ขอบคุณมากจริงๆครับ
ได้รับความรู้จากพี่ ใน thai emb มากมายเลยครับ 025 025

บันทึกการเข้า

ถ้าอยากเปลี่ยนแปลงชีวิต
ก็ต้อง...เริ่มที่การเปลี่ยนแปลง
ความคิดและลงมือทำ
kochai
Hero Member
*****


อยากเก่งอะไร อยากรู้อะไร ต้องอยู่กับมันเยอะๆ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6199
สมาชิก Nº: 10

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 20675
-ได้รับ: 24085


โปรแกรม: wilcom e1.8
จักรปัก: deco 340
« ตอบ #20 เมื่อ: วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559, 20:30:30 »

...
บันทึกการเข้า
MUI
Full Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 139
สมาชิก Nº: 1308

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 136
-ได้รับ: 174


« ตอบ #21 เมื่อ: วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559, 11:36:45 »

การปักเสือนักเรียนครั้งละ 2-4 ตัว(ชื่อเดียว) แต่มีหลายชื่อ จะทำโปรแกรมแบบไหนดีครับเพื่อไม่ให้สับสน กับการปักด้วยจักรหัวเดียว
บันทึกการเข้า
DONNIE YEN
Jr. Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 86
สมาชิก Nº: 4778

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 157
-ได้รับ: 148


โปรแกรม: wilcom e2 xp
จักรปัก: brother nv1500
« ตอบ #22 เมื่อ: วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559, 17:09:41 »

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
การปักเสือนักเรียนครั้งละ 2-4 ตัว(ชื่อเดียว) แต่มีหลายชื่อ จะทำโปรแกรมแบบไหนดีครับเพื่อไม่ให้สับสน กับการปักด้วยจักรหัวเดียว
คุณ MUI ช่วยถามใหม่ได้มั๊ยครับ อ่านแล้วงงๆครับ
บันทึกการเข้า
MUI
Full Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 139
สมาชิก Nº: 1308

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 136
-ได้รับ: 174


« ตอบ #23 เมื่อ: วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559, 10:58:10 »

ก่อนหน้านี้ ผมใช้จักร 4 หัว ปักชื่อเดียว 2-4 ตัวก็ไม่มีปัญหา แต่ตอนนี้ จักร 4 หัวเสีย เหลือเพียง หัวเดียว ก็ต้องปักที่ละตัว ถ้ามีหลายชื่อ จะเขียนโปรแกรมอย่างไรไม่ให้งงนะครับ
บันทึกการเข้า
Isordil
Newbie
*


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2
สมาชิก Nº: 9355

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 24
-ได้รับ: 3


โปรแกรม: Wilcom2006
จักรปัก: Tajima
« ตอบ #24 เมื่อ: วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559, 17:37:38 »

สำหรับมือใหม่มันมืดแปดด้านจริง ๆ ค่ะ  ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ  หาความรู้ในนี้ก็มีประโยชน์มากๆ  ติดตามๆ  Evil
บันทึกการเข้า

ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ผู้ให้คือผู้ที่จะได้รับเสมอ
bellza
Jr. Member
**

ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 61
สมาชิก Nº: 11396

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 13
-ได้รับ: 36


เว็บไซต์ โปรแกรม: wilcom
จักรปัก: tajima
« ตอบ #25 เมื่อ: วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560, 09:49:28 »

ขอบคุณมากจริงๆค่ะ
บันทึกการเข้า

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.16 | SMF © 2011, Simple Machines
SimplePortal 2.3.7 © 2008-2024, SimplePortal

SMFAds for Free Forums

Clear Mind Theme, by StathisG
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.118 วินาที กับ 36 คำสั่ง