การดูแลรักษาจักรปักคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็ก และส่วนประกอบสำคัญของตัวจักร ตอนที่ 1
1 รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง
ก่อนที่เราจะทำการซ่อม ไม่ว่าจะเป็นจักรหรือ สิ่งของอื่นๆก็ตามแต่ เราต้องรู้จักรายละเอียดของมันก่อน นะครับ
จักรตัวอย่างคือ จักรปักคอมพิวเตอร์ KAJIMA รุ่น JX 2013
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา
ลงทะเบียน หรือ
เข้าสู่ระบบรายละเอียดมีดังต่อไปนี้
ความเร็ว 600 รอบต่อ นาที (สำหรับหลายคนที่ยังไม่เข้าใจว่าความเร็วของจักรคำนวณยังไง)
คือใช่ความเร็วของจักร หาร กับฝีเข็ม ก็จะได้เวลาที่งานจะเสร็จเป็น นาที ครับ
เช่น ความเร็ว 600 หาร 1200 ฝีเข็ม ใช้เวลาปัก 2 นาที โดยประมาณครับ ตรงส่วนนี้ขึ้น อยู่ กับแนวไหมด้วยนะครับ ถ้าปักซาตินแบบกว้างก็จะทำให้จักรทำงานช้ากว่าปกติ ทำให้การคำนวณเวลา ไม่ค่อยตรง โดยประมาณครับ
ส่งลายผ่านสาย USB โดยใช่โปรแกรม ZHENGHE สามารถสั่งการเครื่องจักรได้ด้วยโปรแกรมนี้
ขนาด สะดึง 10 x 10 ซม.
ข้อดีของจักรรุ่นนี้คือ
1 ซ่อมง่าย
2 ทนทานต่อการใช้งาน
3 ระบบเซ็นเซอร์ มีไม่มาก จึงทำให้เดาอาการที่เสียได้ง่าย
4 อะไหล่หาง่าย
5 ราคาถูก เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่จะเริ่มต้น
6 ใช้งานง่าย สามารถสั่งการทำงาน ที่ตัวจักร หรือที่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ได้
ข้อเสีย
1 เสียดังมากจึงทำให้แยกไม่ค่อยออก ระหว่างเสียจักรปกติ กับจักรมีปัญหา
2 ต้องอยู่ใกล้ๆคอมพิวเตอร์ เพราะต้อง ส่งลายผ่าน สายUSB
3 หน้าจอของตัวจักรแสดงแค่เพียง ตัวอักษร กับตัวเลข ไม่กี่ตัว จะไม่แสดงชื่อของลายแต่จะแสดงเป็นลำดับลายเป็นตัวเลข
4 เมื่อจักรมีปัญหาตัวจักรจะเตือนเป็นรหัสตัวอักษร กับตัวเลข ถ้าไม่มีความรู้เรื่องจักรก็จะไม่มีทางรู้ว่าจักรมีปัญหาอะไร เช่น E10 E12 เป็นต้น
อันนี้แค่เรียกน้ำย่อยนะครับ ผิดถูกประการใดรบกวนช่วยดูด้วยนะครับ รอตอนต่อไปอาทิตย์หน้านะครับ
ออกอาทิตย์ละตอนจะได้ไม่เบื่อกัน