ThaiEMB.com สังคมแห่งมิตรภาพ และการแบ่งปัน
วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2567, 10:20:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เว็บบอร์ด   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
collapse
กฏ-กติกา : ห้ามจำหน่าย, จ่ายแจก ซอฟแวร์ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ในเว็บบอร์ด Thaiemb แห่งนี้โดยเด็ดขาด
ไม่ว่าจะเป็นทางหน้าบอร์ด หรือหลังไมค์(PM) หากพบเห็นท่านจะถูกแบน User ถาวร.!!!
หากท่านถูกในในผลงาน หรืออยากสนับสนุนให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานมีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน
โปรดช่วยบริจาคให้ผู้จัดทำบ้างตามกำลังนะครับ.!!!  062

หน้า: [1] 2   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การจดทะเบียนร้านค้า  (อ่าน 9516 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
busypig
Hero Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1426
สมาชิก Nº: 3652

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 2432
-ได้รับ: 3036


เว็บไซต์ โปรแกรม: Wilcom e2.0 windows 8.1 32 Bit
จักรปัก: Hooray 2หัว
« เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559, 09:03:32 »

ไม่มีความรู้ด้านนี้เลย

เราต้องจดทะเบียนร้านค้าแบบไหนดีครับ

ที่สามารถออกใบเสร็จแบบมี VAT และ ใบกำกับภาษีได้

เพราะมีบางงานที่ต้องออกบิลให้กับหน่วยงานราชการ และ ในนามบริษัท

แล้วเรื่องภาษี เราจะเสียภาษีอะไรบ้างครับ

ขอบคุณมากครับ

 065 065 065
บันทึกการเข้า

ปาป๊า การปัก

ขึ้นลายด้วยความรัก ลงมือปักด้วยจิตใจ

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
 
jui
Sr. Member
****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 308
สมาชิก Nº: 269

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 606
-ได้รับ: 2651


โปรแกรม: icliqq wing
จักรปัก: happy 1501-30 tajima TFMX 4 หัว
« ตอบ #1 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559, 09:16:18 »

เรื่องภาษีนี้ต้องคิดให้รอบคอบนะครับ เพราะเข้าและออกยาก

บันทึกการเข้า
Kriangkraiw
Hero Member
*****


ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานปักทุกเรื่องครับ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2510
สมาชิก Nº: 31

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 3620
-ได้รับ: 8915


เว็บไซต์ โปรแกรม: Wilcom E3, PE-Design next
จักรปัก: Brother   RiCOMA   KANZEN
« ตอบ #2 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559, 09:33:16 »

ถ้าต้องการออกบิล VAT ต้องไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มครับ
ส่วนจะจดเป็นนิติบุคคลประเภทใด ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเราครับ
เช่นห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วน บริษัท

จดเป็นนิติบุคคลแล้วก็จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มครับ
จดนิติบุคคลจดกับกระทรวงพาณิชย์
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จดกับกรมสรรพากร
รายละเอียดเพิ่มเติมมีในเว็บไซด์ของหน่วยงานทั้งสองครับ

ถ้าจำเป็นต้องเปิดใบกำกับภาษี ก็จำเป็นต้องจดทะเบียนครับ
ส่วนจดเป็นนิติบุคคล เพื่อให้มีสถานะการเป็นผู้ประกอบการที่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่บุคคลธรรมดา

เกรียงไกร
บันทึกการเข้า



เครื่องปักคอมพิวเตอร์ SWF Brother RiCOMA KANZEN
เครื่องพิมพ์เสื้อ Brother GTX
เครื่องทำบล๊อกสกรีน RISO QOCCOPRO
ไหมปัก Bright

บริการด้วยใจ...ที่เป็นหนึ่ง
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ

thitiphan
Full Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
รางวัล:
300
กระทู้: 145
สมาชิก Nº: 7568

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 116
-ได้รับ: 463


โปรแกรม: i-cliqq
จักรปัก: happy 4 หัว
« ตอบ #3 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559, 17:21:00 »

จริงอย่างท่านjuiว่า เข้าง่าย ออกอยากครับ ถ้าจำเป็นต้องใช้ ต้องไปจดภาษีมูลค่าเพิ่มที่สรรพากรครับ จากนั้นก็จะสามารถออกใบกำกับภาษีได้ครับ ต่อไปก็มีภาระต้องส่งใบรายงานภาษีทุกวันที่15ทุกเดือน แม้ไม่มีการขายก็ต้องส่งกระดาษเปล่า (ผมถลำเข้าไปแล้ว)  :064:มีอีกวิธี ขอให้เพื่อนที่เขาจดออกให้ง่ายดีไม่มีภาระ Azn
บันทึกการเข้า

สวัสดีครับ
บริษัท แฟชั่นฟอร์ม จำกัด
รับสั่งทำยูนิฟอร์มโรงงาน ชุดออฟฟิต/ชอฟ/กางเกง/โปโล/คอกลอม และรับปักโลโก เขตชลบุรี/ระยอง/ทั่วประเทศ
โทร.087-9276589,088-8940446 ช่างพัน
เด็กส่งของ
Extras Member
*****


เด็กส่งของ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 118
สมาชิก Nº: 198

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 229
-ได้รับ: 367


โปรแกรม: wilcom 2006
« ตอบ #4 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559, 18:28:04 »

ไม่จำเป็นต้องเข้าระบบvat หรอกครับ ลองใช้วิธีหักภาษี ณ.ที่จ่ายดูครับ

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
บันทึกการเข้า
lop
Full Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 140
สมาชิก Nº: 1354

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 98
-ได้รับ: 202


โปรแกรม: TAJIMA PULSE 11
จักรปัก: Tajima TFMX/TMEG
« ตอบ #5 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559, 19:52:50 »

ตามข้อเสนอแนะของท่านเด็กส่งของเลยครับ ที่ร้านก็ใช้วิธีหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบบุคคลธรรมดา สำหรับลูกค้าหน่วยงานต่างๆที่ต้องการบิลในด้านสรรพากร เพราะงานปักเป็นงานรับจ้างทำของ ไม่ใช่จำหน่ายสินค้าสำเร็จรูป ระบบvat จึงไม่จำเป็นเลย กรณีท่านต้องการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ขอให้ท่านศึกษาถึงความจำเป็น ยอดรายรับทั้งปี ภาระยุ่งยากทุกเดือน และค่าใช้จ่าย ที่จะตามมาด้วยครับว่าจะคุ้มกับการที่เราไปจดหรือไม่ 
บันทึกการเข้า
tnicha2010
Full Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 224
สมาชิก Nº: 2292

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 753
-ได้รับ: 715


โปรแกรม: wilcom
จักรปัก: จักรจีน
« ตอบ #6 เมื่อ: วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559, 20:37:33 »

    ..ถ้าจะออกบิล vat ก็ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล บจก.หรือหจก. ซึ่งก็จะยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายอยู่พอสมควร และท่านต้องยื่นบัญชีรายรับ-รายจ่าย

ให้สรรพากรทุกเดือน  แต่ข้อดีก็คือ ท่านจะได้ความน่าเชื่อถือ   เข้าประมูลงานของหน่วยงานราชการได้  และสามารถทำงานในสเกลที่ใหญ่ขึ้น..

    ..แต่ถ้าไม่อยากยุ่งยากวุ่นวายกับการเป็นนิติบุคคล ก็คุยกับฝ่ายบัญชีของลูกค้าเลยครับ ว่าเราเป็นบุคคลธรรมดา จะใช้วิธีไหนที่ให้เขาเอาหลักฐานไปหัก

 เป็นค่าใช้จ่ายได้ อาจจะบิลเงินสดหรือหักณ.ที่จ่าย ฯล  อย่างที่เพื่อนๆหลายๆท่านว่ามา ผมว่าน่าจะคุยได้ครับ..

                                                                                                                                  ไชโย
บันทึกการเข้า
BobBlahBlah
Full Member
***


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 223
สมาชิก Nº: 6984

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 322
-ได้รับ: 665


โปรแกรม: iCliqq 2.0, Corel Draw, AI, PS, InDesign,Fast Stone Capture
จักรปัก: Happy 701
« ตอบ #7 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559, 10:39:08 »

พร้อมหรือยัง ที่จะขึ้น ถ้า ขึ้นแล้วลงยากนะครับ
บันทึกการเข้า

line: bunchap | FB: คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ | FB Pages : คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ, คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ  | TwT : คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
ymeepan
Newbie
*

ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 40
สมาชิก Nº: 4825

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 219
-ได้รับ: 122


โปรแกรม: Wilcom 2006
จักรปัก: Ricoma
« ตอบ #8 เมื่อ: วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559, 22:43:43 »

พึงระมัดระวังเรื่องภาษีนะครับ ไม่ว่าจะเป็น VAT หรือ หัก ณ ที่จ่าย 3% หรือภาษืรายได้ประจำปี มันคนละส่วนกัน สำหรับภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% หากเป็นงานบริการทั้งนิติบุคคล หรือบุคคลธรรม จะต้องถูกหัก 3% เมือท่านถูกหัก ณที่จ่าย 3% ก็แสดงว่าสรรพากรมีข้อมูลรายได้ของท่านแล้ว พอปลายปีท่านไม่ยื่นภาษีรายได้เดียวสรรพากรก็จมาเยี่ยมท่านถึงบ้าน (ในกรณีท่านมีการหัก ณที่จ่ายเป็นจำนวนมาก) หากท่านมีรายได้ถึงเกณที่ต้องจดทะเบียน Vat แต่ไม่จด ก็มีความผิดเช่นกัน หากตั้งใจที่จะหลบหลีกภาษีจะต้องไม่มีข้อมูลไดฯเข้าไปถึงสรรพากร แล้วท่านจะอยู่รอดปลอดภัย อย่าคิดว่าถูกหัก ณที่จ่ายแล้วจบนะครับ
บันทึกการเข้า

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ

ผลิต และจำหน่ายชุดหมีช่าง ชุดยูนิฟอร์มโรงงาน ชุดยูนิฟอร์มพนักงาน เสื้อยืด เสื้อโปโลแขนยาวสำหรับคนงาน
kaen
Jr. Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 88
สมาชิก Nº: 7980

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 72
-ได้รับ: 134


โปรแกรม: E 2
จักรปัก: DAHAO
« ตอบ #9 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559, 11:37:17 »

 จดทะเบียนพานิชย์ที่เทศบาล (กรณีบุคคลธรรมดา)
อย่าไปยุ้งกะสรรพากรเลยครับเข้าแล้วออกยาก เข้านานยิ่งเพิ่ม
หากจำเป็นต้องใช้เอกสารไปขอซื้อเขาง่ายกว่า VAT น่าจะ 10-12% (กำไรห้างเขา)
หรืองานจัดซื้อจัดจ้างไม่เกินหนึ่งแสนบาท ไม่ต้องใช้ห้างนิติบุคคล ใช้ร้านค้าได้
จดทะเบียนพานิชย์ก็พอ แต่จดแล้วจะกลายเป็นผู้มีรายได้นะ 
ที่พูดกันหัก ณที่จ่าย 1% นี่แหละ อย่าลืมเด้งดึ๋งบนจอสรรพากรชัวร์ ถ้ารายได้ยังไม่เยอะ ก็ไม่ต้องกลัว
แต่ถ้าปรับฐานรายได้แล้ว ไม่มีทางลง
วิธีแก้ก็เดิมๆ ไปขอใบเสร็จเขา แต่อันนี้ไม่แพงเพราะไม่ใช่ VAT
ผมรับงานหลวงประจำครับ ใช้ทะเบียนพานิชย์ครับ   
ไม่ใช้Vatซักที มันตัว อตร. ทำบัญชีทุกเดือน และทุกสิ้นปี
**ข้อมูล จากตัวเองครับ เจอประจำ และเพื่อนก๊งเหล้าเขาคือ"สรรพากรจังหวัด"
บันทึกการเข้า
kaen
Jr. Member
**


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 88
สมาชิก Nº: 7980

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 72
-ได้รับ: 134


โปรแกรม: E 2
จักรปัก: DAHAO
« ตอบ #10 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559, 11:50:44 »

 ลืมไป ผู็ตั้งกระทู้ถามว่าจดยังไง
แนะนำจดทะเบียนพานิชย์ก็พอ รับงานได้ทั้งงานราฎงานหลวง
งานหลวงได้ไม่เกินหนึ่งแสน เกินนั้นต้องห้าง
เจ้าไหนถามหา Vat บอกเขาไม่ได้จด Vat
สรรพากรไปขอเป็นผู้เสียภาษ๊ เสียภาษีปีละนิดหน่อย
ยกเว้นงานเยอะ เบิกบิลเยอะ ก็จ่ายไป ""ช่วยราฎเสริมรัฐ นักการเมืองโยกมาจัดใส่กระเป๋าตัวเอง""
บันทึกการเข้า
busypig
Hero Member
*****


ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1426
สมาชิก Nº: 3652

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 2432
-ได้รับ: 3036


เว็บไซต์ โปรแกรม: Wilcom e2.0 windows 8.1 32 Bit
จักรปัก: Hooray 2หัว
« ตอบ #11 เมื่อ: วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559, 12:59:28 »

ถอยยยยยย ดีกว่า

ไม่จด ดีกว่า

บันทึกการเข้า

ปาป๊า การปัก

ขึ้นลายด้วยความรัก ลงมือปักด้วยจิตใจ

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
rangsan2514
Jr. Member
**


อย่ากลัวที่จะก้าว ถ้ายังเดินได้
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 76
สมาชิก Nº: 7945

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 512
-ได้รับ: 130


โปรแกรม: I Cligg3.0
จักรปัก: Happy
« ตอบ #12 เมื่อ: วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559, 11:22:54 »

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
ลืมไป ผู็ตั้งกระทู้ถามว่าจดยังไง
แนะนำจดทะเบียนพานิชย์ก็พอ รับงานได้ทั้งงานราฎงานหลวง
งานหลวงได้ไม่เกินหนึ่งแสน เกินนั้นต้องห้าง
เจ้าไหนถามหา Vat บอกเขาไม่ได้จด Vat
สรรพากรไปขอเป็นผู้เสียภาษ๊ เสียภาษีปีละนิดหน่อย
ยกเว้นงานเยอะ เบิกบิลเยอะ ก็จ่ายไป ""ช่วยราฎเสริมรัฐ นักการเมืองโยกมาจัดใส่กระเป๋าตัวเอง""
จดทะเบียนพานิชย์..ใช้หลักฐานอะไรบ้างครับ แล้วต้องมีหน้าร้านชื่อร้านมั้ยครับ
พอดีผมรับปักที่บ้านครับ ไม่ได้เปิดร้าน(มีงานประจำทำครับ)หรือไม่ต้องจดดี
แต่บางทีปักงานให้หน่วยราชการ เค้าขอใบเสร็จก็เลยอยากจดไว้ครับ แนะนำด้วยครับ
บันทึกการเข้า
Kriangkraiw
Hero Member
*****


ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานปักทุกเรื่องครับ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2510
สมาชิก Nº: 31

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 3620
-ได้รับ: 8915


เว็บไซต์ โปรแกรม: Wilcom E3, PE-Design next
จักรปัก: Brother   RiCOMA   KANZEN
« ตอบ #13 เมื่อ: วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559, 11:36:55 »

ผมไปค้นมาให้ครับ

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ

การจดทะเบียนพาณิชย์ ตาม พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
 

- คู่มือการจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499

- คู่มือการปฏิบัติงานสำหรับนายทะเบียนพาณิชย์และพนักงานเจ้าหน้าที่
- ตัวอย่างการจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่
- ตัวอย่างการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง
- ตัวอย่างการจดทะเบียนเลิกพาณิชยกิจ
- สถานที่จดทะเบียน
- ค่าธรรมเนียม
1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์
     1.1 บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว)
     1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ
     1.3 นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย
     1.4 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด
     1.5 บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
   
โดยบุคคลตาม 1.1-1.5 ต้องประกอบกิจการค้าซึ่งเป็นพาณิชยกิจตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดตาม 2
   
2. กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
     2.1 บุคคลธรรมดา (กิจการเจ้าของคนเดียว) ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ตาม 1.1-1.3 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
          (1) ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
          (2) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
          (3) นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
          (4) ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
          (5) ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม
          (6) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
          (7) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
          (Cool ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          (9) บริการอินเทอร์เน็ต
          (10) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
          (11) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          (13) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
          (14) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
          (15) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
          (16) การให้บริการตู้เพลง
          (17) โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
     
     2.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ตาม 1.4-1.5 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
          (1) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
          (2) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
          (3) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต
          (4) บริการอินเทอร์เน็ต
          (5) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
          (6)บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          (7) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
          (Cool การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
          (9) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
          (10) การให้บริการตู้เพลง
          (11) โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
   
***กรณีที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นคนต่างด้าว หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย จะต้องตรวจสอบดูด้วยว่ากิจการค้าที่ดำเนินการนั้นต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หรือไม่ หากเป็นกิจการค้าที่ต้องได้รับอนุญาต ผู้ประกอบพาณิชยกิจจะต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าก่อนยื่นจดทะเบียนพาณิชย์***
   
3. พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่
     3.1 การค้าเร่ การค้าแผงลอย
     3.2 พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
     3.3 พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
     3.4 พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
     3.5 พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
     3.6 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
   
4. เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์
   รายละเอียดเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (โปรดคลิก)   
*ท่านสามารถ Download แบบพิมพ์ไปใช้ในการจดทะเบียนได้ที่ คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ /ดาวน์แบบฟอร์ม/ทะเบียนพาณิชย์ หรือขอรับแบบพิมพ์ได้ที่
     1. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร
     2. สำนักงานเขตทุกเขต
     3. เทศบาล
     4. องค์การบริหารส่วนตำบล
     5. เมืองพัทยา
   
5. สถานที่จดทะเบียน
     5.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ :
          (1) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
          (2) ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร. 0-2224-1916, 0-2225-1945
หรือที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง และที่เว็บไซต์  คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ 
     5.2 ในภูมิภาค ยื่นจดทะเบียนได้ที่ : เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนบริหารการจดทะเบียน สำนักข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4446-7 และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกจังหวัด
   
6. กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์
     6.1 จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ
     6.2 การเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนไว้ตาม (1) ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
     6.3 เลิกประกอบพาณิชยกิจ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลิกประกอบพาณิชยกิจ
     6.4 ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายต้องยื่นขอใบแทนภายใน 30 วันนับแต่วันสูญหาย
   
7. หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
     7.1 ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามแต่กรณี
     7.2 ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
     7.3 ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาโดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า "สาขา" ไว้ด้วย
     7.4 ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
     7.5 ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ

8. บทกำหนดโทษ
     8.1 ประกอบพาณิชยกิจโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้า ไปตรวจสอบในสำนักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิด ต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
     8.2 ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคำร้องขอใบรับแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงาน ที่เห็นได้ง่าย ไม่จัดทำป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
     8.3 ผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่งกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต ปลอมสินค้า หรือกระทำการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการจะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียน พาณิชย์แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่
     8.4 ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ
     
9. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์
การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการดังต่อไปนี้
9.1 จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
9.2 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
9.3 จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
9.4 ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
9.5 ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ครั้งละ 20 บาท
9.6 ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ฉบับละ 30 บาท (หนึ่งคำขอ คิดเป็น หนึ่งฉบับ)
   

เกรียงไกร
บันทึกการเข้า



เครื่องปักคอมพิวเตอร์ SWF Brother RiCOMA KANZEN
เครื่องพิมพ์เสื้อ Brother GTX
เครื่องทำบล๊อกสกรีน RISO QOCCOPRO
ไหมปัก Bright

บริการด้วยใจ...ที่เป็นหนึ่ง
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ

Kriangkraiw
Hero Member
*****


ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับงานปักทุกเรื่องครับ
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2510
สมาชิก Nº: 31

คำขอบคุณ
-ได้ให้: 3620
-ได้รับ: 8915


เว็บไซต์ โปรแกรม: Wilcom E3, PE-Design next
จักรปัก: Brother   RiCOMA   KANZEN
« ตอบ #14 เมื่อ: วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559, 11:43:38 »

ผมคิดว่าถ้าจำเป็นต้องใช้ทะเบียนพาณิชย์สำหรับร้านปักเพื่อติดต่อกับราชการ
ไปจดเป็นประเภท

1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์
     1.1 บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว)

ซึ่งไปจดกับกระทรวงพาณิชย์เท่านี้ก็เพียงพอแล้วครับ
ส่วนเรื่องจดทะเบียนภาษี ต้องไปจดกับกรมสรรพากร
ก็มีหลายประเภทภาษ๊ที่ให้จดทะเบียนอีกครับ เช่น
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายฯ
ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละท่าน แต่ละร้านครับ
หาข้อมูลได้จากที่นี่ครับ

คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ

เกรียงไกร
บันทึกการเข้า



เครื่องปักคอมพิวเตอร์ SWF Brother RiCOMA KANZEN
เครื่องพิมพ์เสื้อ Brother GTX
เครื่องทำบล๊อกสกรีน RISO QOCCOPRO
ไหมปัก Bright

บริการด้วยใจ...ที่เป็นหนึ่ง
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ
คุณไม่สามารถดูข้อความนี้.กรุณา ลงทะเบียน หรือ เข้าสู่ระบบ

หน้า: [1] 2   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.16 | SMF © 2011, Simple Machines
SimplePortal 2.3.7 © 2008-2024, SimplePortal

SMFAds for Free Forums

Clear Mind Theme, by StathisG
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 37 คำสั่ง