ThaiEMB.com สังคมแห่งมิตรภาพ และการแบ่งปัน

ซอฟต์แวร์สร้างลาย => บอร์ดโปรแกรม Wilcom => ข้อความที่เริ่มโดย: JTC ที่ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556, 00:55:08



หัวข้อ: เรื่องเล่าเรื่อยเปื่อย สาย Wilcom
เริ่มหัวข้อโดย: JTC ที่ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556, 00:55:08
  ในการทำบล็อคลายปัก หรือ การสร้างลายปักนั้น ในโปรแกรม Wilcom จะมีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่นคือ

1.รุ่นเก่า นักทำลายปักในรุ่นเก่า จะมาพร้อมกับความไม่สะดวกสบายทั้งตัวโปรแกรมเอง และ จักรปักเอง การทำลายปักจึงต้องอาศัยความชำนาญ การวิเคราะห์วางแผน ประสบการณ์ ทั้งหมดเพื่อทำลายปักขึ้นมาสักชิ้นหนึ่ง นักทำลายปักในรุ่นนี้จะใช้แค่เครื่องมือไม่กี่ตัวในการทำลายปัก และ โดยมากจะเป็น Input A และ Run ซึ่งการทำลายปักในรุ่นนี้จะถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการทำลายปักในรุ่นที่สองอีกด้วย ลายปักในรุ่นนี้จึงเป็นที่ต้องการของโรงปักทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะต่างประเทศ โรงปักเหล่านี้เขาซีเรียสเรื่องการตัดไหมเยอะ ๆ มาก ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจักรเขาจะล้ำกว่าไทยมาก แต่ เรื่องการเสียเวลาตัดไหมนี่เขาก็ไม่อยากเอาเหมือนกัน ยกตัวอย่างนักทำลายปักรุ่นเก่าคือ ท่านตาน้ำ คุณหนิง(โคราช) อ.วรรธรรม(SKT) เป็นต้น

2.รุ่นใหม่ นักทำลายปักในรุ่นถัดมา จะมาพร้อมกับความสะดวกสบายจากการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเรื่อย ๆ ทำให้ทำลายปักได้ง่ายกว่าเดิม นักทำลายปักในสมัยนี้จึงใช้ความสามารถของโปรแกรมในการอำนวยความสะดวกในการทำลายปักให้สำเร็จลุล่วงได้เร็วขึ้น มีการใช้เครื่องมือ โดยมากจะเป็น Complex Fill และ Fusion Fill เป็นหลัก ซึ่งผลงานที่ได้ก็แทบจะเทียบเท่านักทำลายปักทีเดียว ตัวอย่างนักทำลายปักในรุ่นนี้คือ คุณ ชัยดา อ.โกชัย เป็นต้น รวมทั้งนักทำลายปักหน้าใหม่ทั้งหมดอีกด้วย

แต่ใช่ว่านักทำลายปักรุ่นเก่าจะอยู่กับที่ นักทำลายปักรุ่นเก่าเหล่านี้ก็รับเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อพัฒนาขีดจำกัดในการทำลายปักให้สูงขึ้นอีก โดยใช้ฐานจากความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมา จะเห็นได้ว่านักทำลายปักรุ่นเก่าจะมีเทคนิคที่แพรวพราวขึ้นเรื่อย ๆ ยกตัวอย่าง อ.วรรธรรม(SKT) เป็นนักทำลายปักรุ่นเก่า(มาก) แต่ช่วงหลัง ๆ มาใช้เทคนิคต่าง ๆ จนจับทางแทบไม่ถูกแล้ว ส่วนนักทำลายปักรุ่นใหม่ ๆ นั้น ก็พยายามเรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ จากนักทำลายปักรุ่นเก่ามาเป็นพื้นฐานในการทำลายปักของตัวเอง 

ส่วนตัวผมนั้นก็จัดว่าเป็นนักทำลายปักรุ่นเก่าเหมือนกัน ตอนแรกผมไม่ชอบเลยครับที่เห็นใครต่อใครใช้เครื่องมือแปลก ๆ แต่เมื่อพิจารณาแล้วลายปักจากนักทำลายปักรุ่นใหม่ ๆ ล้วนแต่แสดงให้เห็นว่ามันไม่ได้เลวร้ายอย่างที่ผมคิด กลับกันเสียอีกกลับทำให้เห็นความสามารถใหม่ ๆ ของโปรแกรมเสียอีก

ศึกษากันและกันครับ นักทำลายปักทั้งสองยุค

In memory of JTC

หมายเหตุ แสดงความเห็นโต้แย้งได้นะครับ ไม่ใช่ว่าผมจะพูดแล้วต้องถูกเสมอไป ยินดีรับฟังทุกความเห็น


หัวข้อ: Re: เรื่องเล่าเรื่อยเปื่อย สาย Wilcom
เริ่มหัวข้อโดย: CoQTos ที่ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556, 06:41:33
โปรแกรมทุกโปรแกรมมีไว้พัฒนา ผมคิดว่ายิ่งเราสามารถใช้ความสามารถได้ถึงขีดสุด ก็จะยิ่งทำให้งานของเราง่ายขึ้น เวลาโปรแกรมใหม่ออกมาการรีวิวโปรแกรมเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ทำให้รู้ว่ามีอะไรใหม่บ้าง มันสนุกดี :)


หัวข้อ: Re: เรื่องเล่าเรื่อยเปื่อย สาย Wilcom
เริ่มหัวข้อโดย: TUDEMB ที่ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556, 07:20:59
สายwings ครับ  แต่เห็นในบอร์ดชอบพูดถึงว่าคนสายนี้มีน้อย แต่สร้างสรรค์ผลงานได้ดี
อยากจะบอกว่าเครื่องมือในwingsมีให้ใช้น้อยกว่า ต้องอาศัยการประยุกต์ดัดแปลง
จึงน่าจัดว่าคนสายwings อยู่ในข้อ1 แม้จะเป็น คนตีลายรุ่นใหม่ เป็นความเห็นส่วนตัวครับ


หัวข้อ: Re: เรื่องเล่าเรื่อยเปื่อย สาย Wilcom
เริ่มหัวข้อโดย: เอ็ม ที่ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556, 08:31:30
ส่วนตัวแล้วชอบเทคนิคของอาจารย์รุ่นเก่าๆครับ แต่ละท่านจะมีเทคนิคในการเดินลายที่เพิ่มขีดจำกัดใด้แตกต่างกันไป ลึกล้ำ ยากแท้หยั่งถึง   :delight:


หัวข้อ: Re: เรื่องเล่าเรื่อยเปื่อย สาย Wilcom
เริ่มหัวข้อโดย: moch ที่ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556, 10:47:21
โดยส่วนตัวผมคิดว่า นักทำลายปักในรุ่นเก่าเปรียบไปแล้วก็เหมือนจิตกรที่มีฝีมือและจินตนาการเฉพาะตัว แม้เข้าสู่ยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ถ้าคนยุคเก่าที่มีความเป็นจิตกรอยู่แล้วสามารถเรียนรู้และเข้าถึงสิ่งใหม่ๆได้ ผลงานแห่งการสร้างสรรค์จากคนยุคเก่าก็จะเป็นผลงานที่ล้ำเลิศชนิดที่หาที่เปรียบไม่ได้ ... ต่างจากคนยุคใหม่ แม้จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างชนิดที่เรียกว่ารู้จักและใช้ได้ในทุกเครื่องมือที่โปรแกรมมีมาให้ ก็ใช่ว่าจะสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ดีเสมอไป

ยกตัวอย่าง จากวีดีโอข้างล่างนี้ คิดว่าคนที่สามารถใช้ทุกเครื่องมือในโปรแกรม Photoshop ได้เป็นอย่างดี จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ขนาดนี้หรือไม่ หากไม่มีความเป็นจิตกรในตัว และในขณะเดียวกัน จิตกรฝีมือเยี่ยมจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะนี้ได้หรือไม่หากไม่มีความรู้และทักษะในการใช้งานโปรแกรม  ;)

http://www.youtube.com/watch?v=6KcCYHqLAB8


หัวข้อ: Re: เรื่องเล่าเรื่อยเปื่อย สาย Wilcom
เริ่มหัวข้อโดย: Kriangkraiw ที่ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556, 11:23:58
ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ
พื้นฐานเราต้องมี แต่เราต้องพัฒนาอยู่เสมอ หยุดนิ่งเท่ากับถอยหลัง

นับถือช่างบล๊อคทุกท่านในวงการครับ
เกรียงไกร


หัวข้อ: Re: เรื่องเล่าเรื่อยเปื่อย สาย Wilcom
เริ่มหัวข้อโดย: Yos [Wings XP] ที่ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556, 12:11:26
ผมสาย Wings อยู่ใน "ข้อ1. รุ่นเก่า" เหรอเนี่ย  :D


หัวข้อ: Re: เรื่องเล่าเรื่อยเปื่อย สาย Wilcom
เริ่มหัวข้อโดย: lungkita ที่ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556, 20:27:55
โดยส่วนตัวน่ะครับ..จากประสบการณ์.เครื่องมือแต่ละอย่างใช้งานได้ดีแตกต่างกันครับ Input A เหมาะสำหรับ การปักแบบ ซาติน Complex Fill เหมาะสำหรับ การปักแบบ ตาตามิ ครับผมอยู่ในยุคกลางหรือเปล่าครับ..ฮาๆครับ


หัวข้อ: Re: เรื่องเล่าเรื่อยเปื่อย สาย Wilcom
เริ่มหัวข้อโดย: Kriangkraiw ที่ วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556, 21:49:51
พูดถึงช่างบล๊อค
มีตั้งแต่ เดอะพันซ์ ย่งกวง แล้วก็บริษัทเล็กน้อยอีก3-4บริษัท
ส่วนช่างก็มี กลุ่มช่างแดง ช่างเรือง ช่าง........ ช่างอีกหลายช่างเลยครับ
ตั้งแต่สมัยเด็ก จำได้บ้างไม่ได้บ้าง

จนซื้อโปรแกรมวิงส์ ทำงานบน DOS มาใช้
กลับมาก็วางกระเป๋านักเรียน กินข้าวแล้วก็มานั่งตีบล๊อคจนถึงห้าทุ่ม เที่ยงคืน แล้วค่อยขึ้นนอน
ทำแบบนี้จนวิงส์มีเวอร์ชั่นวินโดวส์ แล้วก็วินโดวส์ xp
แล้วก็ค่อยมาจับ wilcom9, 2006
ส่วน e1.5 ผมไม่ได้ตามแล้วครับ
จนฝีมือไม่มีแล้ว
แต่พื้นฐานยังมีนะครับ เพียงแต่อาจจะเรียกชื่อเครื่องมือไม่ตรงกัน
แนะนำ แก้ไข ลายได้ครับ

มีอะไรให้ช่วย ยินดีเสมอครับ
เกรียงไกร


หัวข้อ: Re: เรื่องเล่าเรื่อยเปื่อย สาย Wilcom
เริ่มหัวข้อโดย: manit ที่ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556, 08:12:49
สำหรับผมคิดว่า ทั้งโปรแกรมตัวใหม่และโปรแกรมตัวเก่า ล้วนแต่มีความสำคัญในตัวมันเองอยู่แล้ว ในตามยุคสมัยของมันขณะนั้น แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือคนทำลายปักที่จะนำเครื่องมือมาใช้  ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความสวยงาม ลงตัวได้ชัดเจน ซึ่งทั้งสองรุ่นโปรแกรมก็สามารถทำได้ไม่แพ้กัน แต่ทีมานั้นโปรแกรมรุ่นเก่าจะต้องมีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างสูงและจะซ่อนอยู่ภายใน แต่โปรแกรมรุ่นใหม่มากับความเพียบพร้อมทั้งหน้าตา และพร้อมในการใช้งาน
ก็เปรียบเหมือนกับรถรุ่นเก่า ที่ซื้อมาใหม่ มาแต่พวงมาลัยขับ กับเบาะนั่ง แต่เดี๋ยวนี้ มีแอร์ มีวิทยุ มีจอหนัง  มีจีพีเอส ทั้งๆที่ไม่มีอุปกรณ์เล่านี้ ก็สามารถถึงจุดหมายได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่จะชอบแบบไหน  สำหรับกระผมตอนนี้ใช้รุ่นใหม่อยู่ครับ แต่ก็ยังหาความรู้ในตัวโปรแกรมที่อาจารย์ สอนไว้ มาใช้ไม่รู้จักหมดเช่นกัน ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: เรื่องเล่าเรื่อยเปื่อย สาย Wilcom
เริ่มหัวข้อโดย: Yos [Wings XP] ที่ วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556, 10:41:57
ผมเข้าวงการปัก ตอนเดือนมิถุนายน 2549 โดยเข้าใจว่าบริษัทที่เข้าไปสมัครงาน เปิดตำแหน่งงานกราฟฟิคทั่วไป พอได้เทสตอนสมัครงาน ก็ยังใช้ Illustrstor ก็ไม่เอะใจอะไร

แต่พอได้เข้าไปทำงาน เจอ Wings XP โปรแกรมอะไรเนี่ย ให้ทำอะไรเนี่ย ก็ลองดูสักตั้ง ทำไปก่อน งานหายาก พอทำไปทำมา ยาวเลยครับวงการนี้

มาตรฐานของบริษัทนี้ อัดเข้ามา อัดเข้ามา ทำจนเป็นความเคยชิน แรกๆทำงานไม่เก่ง ทำช้ามาก มีโอทีทุกวัน เลิก 4 ทุ่ม โดนเรียกไปว่า ทำงานไม่ได้มาตรฐาน

โดน bad ไปหลายรอบ (โดนแล้วอดเบี้ยคุณภาพ 500 บาทต่อเดือน) ทำจากได้งานวันละ 2-3 ชิ้น จนทำได้วันละ 8-9 ชิ้น ทำไปทำมา ทำเวลาแข่งกับเพื่อน

ค่าคอมมิชชั่นจากจำนวนเข็มที่ต้องทำสะสมในแต่ละเดือน ขั้นต่ำเค้าต้องให้เราทำไม่น้อยกว่า 350,000 ฝีเข็ม ผมทำมา 2 ปี ทำสูงสุดได้แค่ 800,000 ฝีเข็ม ไม่ถึงล้านสักที

ขึ้นกับดวงในการหยิบงานด้วย ได้งานยาก งานเล็ก งานใหญ่ โชคไม่ดี บางเดือนไม่ได้งานใหญ่เลย แถมยากอีกตะหาก แต่งานบริษัทนี้หลากหลายจริงๆ ได้ทำงานทุกอย่างของงานปัก

แอฟปริเก้ ปักโฟม ปักหมวก ภาพเหมือนรถ ขนสัตว์ กล้ามเนื้อ หน้าคน เพื่อนร่วมงานคนที่เก่งๆ ก็จะสอนเด็กใหม่ว่า งานแบบนี้ต้องทำยังไง ทำแบบไหน ง่ายและเร็ว ทำแบบไหนสวย

ที่เหลือ ก็ขึ้นอยู่กับศิลปะในตัวเรา ว่ามีมากน้อยแค่ไหน คนที่มาทำงานที่บริษัทนี้ ก็หลากหลาย แม้แต่ช่างยนต์ยังมี แต่พวกเค้าก็ยังทำกันได้ เก่งด้วย เราก็ต้องทำให้ได้เหมือนกัน สู้โว้ย 555