ThaiEMB.com สังคมแห่งมิตรภาพ และการแบ่งปัน

ช่างสกรีน => เทคนิคการสกรีน => ข้อความที่เริ่มโดย: jROC ที่ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556, 17:22:22



หัวข้อ: มีบทความเรื่องสีมาฝากครับ
เริ่มหัวข้อโดย: jROC ที่ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556, 17:22:22
สีสกรีนเสื้อที่ใช้สำหรับงานสกรีนลงบนเสื้อยืดหรือผ้า โดยทั่วไปแบ่งได้ เป็น 2 กลุ่มคือ

กลุ่มที่ใช้สีสกรีนเสื้อประเภทเชื้อน้ำ สีสกรีนประเภทนี้จะอาศัยน้ำเป็นตัวละลายเนื้อสี(pigment) และแป้งพิมพ์(Print paste) เข้ากันเป็นเนื้อเดียว โดยแป้งพิมพ์ที่เตรียมไว้สำหรับผสมกับสีสกรีนจะมีส่วนผสมของสารยึดเกาะ (Binder) เพื่อช่วยในการยึดติดบนเส้นใยของเสื้อผ้า

ส่วนสีสกรีนอีกประเภทที่นิยมนำมาใช้กับการสกรีนเสื้อคือ สีพลาสติซอล ซึ่งมีองค์ประกอบหลักของเนื้อสีผลิตมาจาก PVC และ Plasticizer โดยอาศัยน้ำมันเป็นตัวทำละลาย
ตามร้านจำหน่ายสีสกรีนหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการพิมพ์สกรีนใหญ่ ๆ จะมีจำหน่ายทั้งแบบนำไปผสมเอง(สี + แป้งพิมพ์สำเร็จรูป + สารเติมแต่งเพื่อเพิ่มคุณสมบัติบางประการในการนำไปใช้ในงานสกรีน) และแบบที่ผสมสำเร็จเป็นเฉดสีมาตราฐานพร้อมสกรีน ประมาณ 6 -14 สี อย่างไรก็ตามสำหรับสีผสมสำเร็จก่อนนำไปใช้งานอาจต้องเจือจางความข้นหนืดของเนื้อสีสกรีนโดยการเติมน้ำ หรือน้ำมันขึ้นกับตัวทำละลาย เพื่อไม่ให้สีซึมเลอะ(กรณีที่มีความข้นหนืดต่ำ)หรือสีแห้งติดบล็อค(กรณีที่มีความข้นหนืดสูง) หรืออาจต้องเติมสารเพิ่มคุณสมบัติในการสกรีนซึ่งขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ของสีแต่ล่ะยี่ฮ้อตามที่ผู้ผลิตแนะนำ

ในกรณีที่ต้องการผสมสีพิเศษนอกเหนือจากสีมาตราฐาน จะใช้หัวเชื้อสีน้ำ (Water based Color Concentrate) สำหรับงานสกรีนฐานน้ำเป็นตัวผสม หรือหัวเชื้อสีพลาสติซอล (Plastisol Pigment Concentrate) สำหรับงานสกรีนด้วยสีพลาสติซอลเป็นตัวผสมสีให้ได้เฉดสีตามที่ต้องการ
สีสกรีน Pigment Dyes

สีสกรีนเสื้อเชื้อน้ำ (water based screen ink) สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทตามคุณสมบัติของแป้งพิมพ์ที่นำมาใช้ผสมสีสำหรับสกรีนเสื้อดังนี้

สีสกรีนเสื้อแบบสีจม คุณสมบัติของสีสกรีนประเภทนี้ เนื้อสีจะมีความละเอียดสามารถซึมลงไปถึงเส้นใยผ้าและเนื้อสีจะมีความโปร่งใส เมื่อนำไปสกรีนลงบนเสื้อยืดลวดลายสกรีนจะให้ผิวสัมผัสที่เรียบจนแทบเป็น เนื้อเดียวกับเสื้อ ด้วยเหตุที่เนื้อสีมีความโปร่งจึงนิยมนำไปใช้ในงานสกรีนบนเสื้อสีอ่อน

สีสกรีนเสื้อแบบสีลอย คุณสมบัติของสีลอยคือ เนื้อสีจะมีความละเอียดน้อยกว่าสีจม ทำให้เนื้อสีเกาะติดอยู่บนเส้นใยของผ้า เมื่อสกรีนลงเสื้อผิวสัมผัสจะให้ความรู้สึกถึงลวดลายที่มีความหนาขึ้นมาจาก เนื้อผ้า และเมื่อลองดึงหรือยืดลายสกรีนจะสัเกตุเห็นถึงเนื้อสีที่แยกออกจากกันจับ อยู่บนผิวของเนื้อผ้า และเนื่้องจากเนื้อสีของสีประเภทนี้จะมีความทึบแสงจึงเหมาะที่จะนำไปสกรีนลง บนเสื้อสีเข้ม หรือนำไปสกรีนรองพื้นสีขาวบนเสื้อสีเข้มแล้วจึงสกรีนทับด้วยสีจม ข้อเสียของสีลอยคือแห้งเร็วซึ่งทำให้บล็อคสกรีนตันง่าย หมึกสกรีนติดหลังบล็อค

สีสกรีนเสื้อแบบสียาง คุณสมับัติของสียางเนื้อสีจะมีความยืดหยุ่นสูงและมีความเงา ให้สีที่สด เมื่อสกรีนลงบนเนื้อผ้า เนื้อสีจะไปจับอยู่บนเส้นใยเช่นเดียวกับสีลอย ผิวสัมผัสจะมีชั้นความหนา(บาง)ของลายสกรีน และเมื่อลองดึงเนื้อผ้าเพื่อยืดลายสกรีนออก เนื้อสีจะยืดออกตามเนื้อผ้าเสมือนมีความยืดหยุ่นเป็นเนื้อเดียวกัน และเนื่องด้วยเนื้อสีมีความทึบแสงจึงสามารถสกรีนได้ทั้งบนเสื้อสีอ่อนและสี เข้มโดยไม่ต้องรองพื้นก่อน

สีสกรีนเสื้อแบบสีนูน ในหมึกพิมพ์จะผสมสารที่ทำให้เกิดการฟูขึ้นของเนื้อสีเมื่อนำไปอบด้วยความ ร้อนหลังจากสกรีน ทำให้ลวดลายมีความหนานูนขึ้นมา โดยทั่วไปจะนำไปใช้ในงานสกรีนตัวอักษรหรือลายสกรีนที่ต้องการให้เกิดผิว สัมผัสมีความนูนเป็น 3 มิติ

สีสกรีนเสื้อพลาสติซอล (Plastisol screen ink) องค์ประกอบของสีพลาสติซอลผลิตจากสารเคมีประเภท PVC (polyvinyl chloride) และ plastiziser โดยใช้น้ำมันเป็นตัวทำละลาย(เชื้อน้ำมัน) เมื่อสารเคมีทำปฏิกิริยากับความร้อนจะถูกหลอมละลายเคลือบไปบนวัสดุประเภทต่าง ๆ สีพลาสติซอลเป็นสีสกรีนอีกประเภทที่นิยมนำมาใช้ในงานสกรีนทั้งบนเสื้อผ้าและ บนพื้นผิววัสดุแทบทุกชนิด เนื่องจากมีคุณสมบัติในการยึดเกาะบนพื้นผิววัสดุที่ดี และมีความเงางามสดใสของเนื้อสี เมื่อนำไปสกรีนลงบนเสื้อหรือผ้าผิวสัมผัสจะมีชั้นความหนาของลวดลายเคลือบ อยู่บนเนื้อผ้าเช่นเดียวกับสียาง เนื่องจากเนื้อสีมีความทึบแสงจึงนิยมนำไปสกรีนทั้งบนเสื้อสีอ่อนและสีเข้ม และเป็นที่นิยมในงานสกรีนด้วย เทคนิค Halftone

สีสกรีนพลาสติซอล
เนื่องจากเนื้อสีพลาสติคซอลจะแห้งที่อุณหภูมิ 130-160 องศาC ขึ้นกับความหนาบางของเนื้อสี ดังนั้นหลังการสกรีนสีสุดท้ายจำเป็นต้องอาศัยการอบด้วยความร้อนเพื่อให้เนื้อสีแห้งสนิทจริงที่อุณหภูมิประมาณ 130-160 องศา C โดยถ้าเป็นการอบสีด้วยเครื่องอบความร้อนแบบเคลื่อนที่ (Flush Cure) ซึ่งจะมีรางวิ่งไปตามโต๊ะสกรีนเพื่อเป่าลมร้อน เวลาที่ใช้ในการอบเสื้อแต่ล่ะประมาณ 20-30 วินาที หรือถ้าเป็นการอบสีด้วยเครื่องอบความร้อนแบบสายพาน(Conveyor) จะ ใช้วิธีควบคุมความเร็วในการเคลื่อนที่ของสายพานเพื่อให้เสื้อได้รับลมร้อนในช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับในงานสกรีนมากกว่า 1 สี การอบความร้อนในแต่ล่ะสีก่อนสกรีนสีถัดไปจะใช้อนุหภูมิอยู่ที่ประมาณ 100-120 องศาC

เนื่อง จากสีพลาสติซอลมีองค์ประกอบหลักประเภท PVC และ Plastiziser ซึ่งเป็นสารที่สกัดได้จากอุตสหกรรมปิโตรเคมี ในบางประเทศหรือองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมจึงไม่สนับสนุนผลิตภัณฑ์เสื้อยืดที่ สกรีนด้วยสีที่มีสารประกอบจำพวก PVC ในส่วนของผู้ผลิตสีจึงได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในงานสกรีน เสมือนสีพลาสติซอลแต่ปลอดสาร PVC และ Plastiziser ขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับนำไปใช้ในงานสกรีน

 :strict: :strict: :strict:


เครดิตเว็ป pandascreen.com